ดร.อดัม เชอร์ก นักวิจัยจากสถาบันวิจัยการใช้สารเสพติดของประเทศแคนาดา เตือนว่าผู้ดื่มสุราในระดับปานกลาง ไม่ใช่เครื่องมือป้องกันสุขภาพแต่อย่างใด เพราะหากดูตามสถิติปัญหาสุขภาพของโรงพยาบาลต่างๆ พบว่า สุราเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพ ทั้งนี้บทความที่ลงในวารสาร ที่ศึกษาเกี่ยวกับแอลกอฮอล์ และยาเสพติดในเดือนมิถุนายน ดร.เชอร์ก รายงานว่า “ผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในรัฐบริติชโคลัมเบีย ของเทศแคนาดา ปี 2557 โดยครึ่งหนึ่งจะเสียชีวิตจากการดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปานกลางหรือพอดี นอกจากนี้ผู้เสียชีวิตจากการดื่มสุราที่คิดเป็น 1 ใน 3 ราย เสียชีวิตจากการดื่มแอลกอฮอล์ในระดับต่ำภายใน 1 สัปดาห์ในประเทศแคนาดา ทั้งจากการที่คนรักสุขภาพดื่มสุราเกิน 10 แก้วต่อสัปดาห์ ในผู้หญิง และผู้ชายที่ดื่มแอลกอฮอล์สัปดาห์ละ 15 คน
ข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นอาจทำให้หลายคนรู้สึกสับสน เกี่ยวกับประโยชน์ของการดื่มแอลกอฮอล์ในระดับที่พอดี และดูเหมือนว่าในผู้หญิงเท่านั้นที่ดื่มสุราในระดับที่เหมาะสมแล้ว จะช่วยลดการป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ลง และลดอาการหัวใจวาย อีกทั้งโรคหลอดเลือดสมองลงนั่นเอง ที่น่าสนใจนั้นในรายงานวิจัยของ ดร.อดัม เชอร์ก ยังบอกอีกว่า สำหรับผลการป้องกันโรค จากการดื่มสุราในแบบที่พอดี อาจจะไม่ส่งผลดีกับสุขภาพของคุณหนุ่มๆ หมายความว่าคุณหนุ่มๆ คอทองแดงนั้นจะได้รับผลเสียจากการดื่มเครื่องดื่มมึนเมาทั้งสิ้น
ดร.เชอร์ก กล่าวว่า ผลการศึกษาของเขาแสดงให้เห็นว่า ประเทศต่างๆ เช่น แคนาดาและในอังกฤษ ควรจำกัดการดื่ม ที่แนะนำให้เข้มงวดขึ้น เพื่อสะท้อนไปยังประเทศเนเธอร์แลนด์ อีกทั้งแนวทางปัจจุบันในอังกฤษ ได้บอกว่าทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ไม่ควรดื่มสุราเกิน 14 แก้วในช่วงเวลา 1 สัปดาห์
โดยสรุปแล้ว เพื่อสุขภาพแล้วเราทุกคนไม่ควรดื่มสุราเลยก็จะดีที่สุด หรือถ้าต้องการดื่มจริงๆ ก็ควรดื่มให้น้อยกว่า 1 แก้วต่อวัน เพราะอันที่จริงการดื่มแอลกอฮอล์ให้ดีต่อร่างกายนั้น ไม่ควรดื่มเบียร์เกิน 4 แก้วต่อสัปดาห์
ขณะที่ฐานข้อมูลสถิติและบทวิเคราะห์สถิติของอุตสาหกรรมและประเทศทั่วโลก อย่าง Statista ได้ระบุว่า “ในปี 2018 นั้น ผู้ชายอังกฤษอายุประมาณ 55-64 ปี ดื่มโดยเฉลี่ย 15.2 แก้วต่อสัปดาห์ ส่วนผู้หญิงในกลุ่มอายุเดียวกัน บริโภคโดยเฉลี่ย 11.2 แก้วต่อสัปดาห์ ดร.เชอร์กกล่าวว่า “เมื่อพูดถึงการดื่มแอลกอฮอล์น้อยกว่าเสมอดีกว่า”
อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อถกเถียงเกี่ยวกับข้อขัดแย้งระหว่างประโยชน์กับอันตรายของการดื่มสุราในระดับปานกลางยังคงมีอยู่ ตัวอย่างเช่น ในเดือนมกราคม มีงานวิจัยจากนักวิจัย มหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ ในเมืองบัลติมอร์ สหรัฐอเมริกา ประกาศว่า “การดื่มในระดับปานกลาง (หากเรายังสามารถเรียกการบริโภคได้ถึง 24.5 แก้วต่อสัปดาห์ของคนอเมริกัน) ซึ่งคำว่า 'ปานกลาง' อย่างที่สหรัฐอเมริกาทำอย่างเป็นทางการ ช่วยลดความเสี่ยงของผู้คนในการพัฒนาโรคไตเรื้อรัง เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ดื่มสุราและไม่สูบบุหรี่
จากการศึกษามากกว่า 12,500 คน ในวารสารโภชนาการการทำงานของไต พบว่า คนที่ดื่มระหว่าง 8-14 เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อสัปดาห์ มีความเสี่ยงลดลง 29% จากโรคไตเรื้อรัง เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ดื่มสุราและไม่สูบบุหรี่
แม้แต่คนที่ดื่มสุราระหว่าง 15-20 แก้วต่อสัปดาห์ ก็มีความเสี่ยงลดลงของโรคต่างๆ ได้ถึง 23% แต่ถ้าดื่มมากกว่าที่กล่าวมานี้ย่อมก่อให้เกิดอันตรายมากกว่าสุขภาพดีอย่างแน่นอน
ด้าน ดร.เอมิลี่ หู่ นักระบาดวิทยาด้านโภชนาการ ซึ่งเป็นผู้นำการศึกษา กล่าวว่า “ผลประโยชน์อาจอธิบายได้จากข้อเท็จจริงที่ว่า การดื่มในระดับปานกลางมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจที่ลดลง ซึ่งเป็นภาวะที่มีสาเหตุทางสรีรวิทยา ที่คล้ายคลึงกันกับโรคไตเรื้อรังที่ลดลง จากผลวิจัยการดื่มสุราของพลเมืองมะกันนั่นเอง”
ทั้งนี้ มีอีกหลายงานวิจัยที่ออกมาระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับความปลอดภัยหรือประโยชน์ของการดื่มสุราในแบบพอดี ซึ่งทำการเผยแพร่ไปเมื่อเดือนธันวาคมที่มา โดยสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา American Cancer Society ที่สรุปว่าการดื่มแอลกอฮอล์ในระดับเบาไปจนถึงปานกลางนั้น ล้วนกระตุ้นความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งทุกชนิด.
September 07, 2020 at 12:04AM
https://ift.tt/3jSj8NP
อัตราเสี่ยงจากการดื่ม หญิงแตกต่างจากชาย - ไทยโพสต์
https://ift.tt/3cAAHOs
Bagikan Berita Ini